ความรักในรูปการกระทำ

รายงานจากประเทศญี่ปุ่น

ถนอมกาย ปลอบใจให้กับผู้ประสบภัย จากลมพายุกับแผ่นดินไหว

โดยศูนย์โตเกียว กับศูนย์กุมมะ  
(ต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น)

ลมแรง ฝนหนักแต่ความรักก็ยังยิ่งใหญ่

ประมาณบ่ายโมงของวันที่ 20 ตุลาคม ปี 2547 ลมพายูใต้ฝุ่นโทคาเกะ ขึ้นบกที่อำเภอโคชิ ตอนเย็นก็ขึ้นบกที่เมืองโอซาก้า เนื่องจากลมพายุถล่มทั่วญี่ปุ่น บวกกับสถานที่ ที่ลมพายุผ่านกว้างขวางมาก ทำให้เสียหายหนักมาก ลมพายุนำฝนหนักมาตกอย่างน่ากลัวมาก โดยเฉพาะสถานที่ใกล้อำเภอเฮียวโกะ กรุงเกียวโต ได้รับความเสียหายหนักที่สุด มีประชาชนจำนวน 40,000 คนต้องอพยพออกจากพื้นที่ เมืองโทโยกะ ที่อยู่อำเภอเฮียวโกะ มีบ้านเรือนประชาชนร้อยละ 90 ที่ได้รับความทุกข์ยากจากการถูกน้ำท่วม

เมื่อได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์ผู้มีเมตตาแล้ว เพื่อนบำเพ็ญที่ศูนย์กุมมา ออกเดินทางไปตรวจสอบความเสียหายทันทีในวันรุ่งขึ้น เนื่องจากถนนส่วนมากชำรุด ยิ่งใกล้สถานที่เกิดเหตุ ยิ่งเข้ายาก เพื่อนบำเพ็ญต้องใช้เวลาเกือบ 12 ชั่วโมง จึงไปถึงเมืองโทโยกะ ศูนย์กุมมะกับศูนย์โตเกียว ได้ปรึกษากันแล้ว ร่วมกันจัดรถบรรทุกขนาด 4 ตัน บรรทุกน้ำแร่กับเครื่องดื่มนักกีฬา ที่ชาวบ้านต้องการมากที่สุด ไปยังสถานที่เกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านทันต่อเวลา


ภัยจากแผ่นดินไหวสาหัสความอบอุ่นยิ่งมากล้น

ขณะที่เงาแห่งความกลัวของลมพายุใต้ฝุ่นยังอยู่ในใจของประชาชน บ่ายวันที่ 23 ตุลาคม เขตโทโฮขุ ที่อยู่ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น ก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่ใกล้ๆ เขตคินขิ มีความแรง 6.8 ริคเตอร์ สถานที่เกิดแผ่นดินไหวที่นีกาตะกลาง หลังจากเกิดเหตุ ยังเกิดการไหวเป็นระรอกอีกหลายครั้ง ทำให้การจราจรต้องหยุดชะงักลง กับการตกรางครั้งแรกของขบวนรถด่วนหัวกระสุนชิงคันเซ็น น้ำ ไฟฟ้า แก๊ส ที่อยู่รอบๆ ต้องหยุดชะงัก หมู่บ้านหลายแห่งขาดการติดต่อกับภายนอก เหมือนกับเป็นเกาะร้าง

ท่านอาจารย์แนะนำเพื่อนบำเพ็ญชาวญี่ปุ่น อีกครั้ง เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวัตถุกับการปลอบขวัญทางด้านจิตวิญญาณ เพื่อนำความรักของท่านอาจารย์ไปมอบให้กับผู้ประสบภัยมากขึ้น ศูนย์กุมมะ กับศูนย์โตเกียว ต่างดำเนินการช่วยเหลือ เพื่อนบำเพ็ญกรุงโตเกียวแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกไปสถานที่เกิดเหตุนีงาตะกลาง ไปแจกของว่างที่พักผู้ประสบภัยโรงเรียนมัธยม จากนั้นไปที่เมืองมิทซึเค ระหว่างทาง ถนนแตกแยกหมด ภูเขาที่พังลงมา มีแต่บ้านที่พังทลาย เพื่อนบำเพ็ญไปบริจาคน้ำแร่ 10 กว่าลังที่ศูนย์ช่วยเหลือสิ่งของ และไปแจกสิ่งของที่สถานที่หลบภัยที่อยู่ใกล้ๆ คือ โรงเรียนชั้นประถมกับสถานที่รับเลี้ยงเด็ก นอกจากนี้ ยังมอบน้ำ 26 ลังกับของว่างอีก 7 ลัง ให้กับประชาชนที่อยู่ใกล้ๆบริเวณนั้นด้วย

เพื่อนบำเพ็ญกลุ่มที่ 2 เดินทางไปที่เมืองโอจิยะ ที่ได้เสียหายหนักที่สุด เนื่องจากถนนเป็นภูเขาและขาดจากกัน เพื่อนบำเพ็ญไม่ทราบจะทำอย่างไร จากการให้พรของท่านอาจารย์ สามารถเสาะข่าวเกี่ยวกับถนนและหมู่บ้านได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงได้เดินทางไปถึงหมู่บ้านอีก 4 แห่งที่เมืองคาวาอิ ชาวบ้านเห็นถนน ภูเขาขาดจากกันหมด ต่างเสนอที่นาของตัวเอง เพื่อทำถนนชั่วคราวขึ้น ทำให้สิ่งของที่นำไปช่วยเหลือ ส่งไปถึงได้ วันที่ 28 เพื่อนบำเพ็ญซื้อกระบอกไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ของหวานต่างๆ บวกกับผ้าปูนอนใหม่อีก 20 ผืน ที่เจ้าของร้านให้มา นำไปที่หมู่บ้านอีก 3 แห่งที่เมืองอิวาซาวะ ชาวบ้านที่นี่ต่างย้ายไปอยู่กับญาติเกือบหมด ที่เหลือล้วนแต่เป็นคนแก่ที่ไม่อยากจากบ้านเดิมไป เมื่อเพื่อนบำเพ็ญแจกสิ่งของให้ พวกเขาดีใจมาก ระหว่างทางที่กลับจากเขตภูเขา แม้จะไม่ชำนาญทาง แต่มักจะมีผู้ออกมาบอกทางให้อยู่เสมอ ช่างมหัศจรรย์จริงๆ  

วันที่ 29 เพื่อนบำเพ็ญทราบว่า หมู่บ้านเล็กๆ ที่เมืองโยชิตานิ ได้รับความเสียหนัก จึงรีบเดินทางไปที่นั่น จากการสืบทราบสิ่งของ ที่ผู้ประสบภัยต้องการ เพื่อนบำเพ็ญจึงรีบสั่งซื้อกระบอกไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ผลไม้ ข้าวห่อสาหร่าย เตาหุงต้มเล็กๆ ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ เจ้าของร้านที่เที่ยวก่อนให้ผ้าปูนอนฟรีมา บริจาคผ้าปูนอนกับถ้วยชามด้วย ผู้ประสบภัยเมื่อได้รับสิ่งของเหล่านี้แล้ว ต่างดีอกดีใจมาก

วันที่ 29 เพื่อนบำเพ็ญกลุ่มที่ 3 บรรทุกสิ่งของที่เป็นกระบอกไฟฉาย ถุงที่ให้ความอุ่น กล้วยหอม ซุปสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ต่างๆ เป็นต้น ไปแจกจ่ายที่หมู่บ้าน เมืองโอจิยะ เนื่องจากบ้านเรือนที่นั่นพังทลายหมด ได้รับความเสียหายมาก เพื่อนบำเพ็ญได้ช่วยผู้ประสบภัยทำความสะอาดบ้านเรือนที่รกรุงรังด้วย

วันที่ 30 เพื่อนบำเพ็ญกลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 3 มาพบกัน ร่วมกันทำอาหารให้กับผู้ประสบภัยกับอาสาสมัครที่ศูนย์สวัสดิการ ประกอบด้วยซุปมะเขือเทศสไตส์อเมริกันกับก๋วยเตี๋ยวอุด้ง(เส้นก๊วยเตี๋ยวชนิดหนาสไตส์ญี่ปุ่นดั้งเดิม) อาคารหลังนี้รับผู้ประสบภัยได้ประมาณ 200 คน และมีอาสาสมัครที่มาจากทั่วประเทศประมาณ 100 คน พักรวมอยู่ด้วย เมื่อเห็น ทุกคนต่างชมเชยอาหารที่อร่อยอย่างอิ่มอกอิ่มใจแล้ว เพื่อนบำเพ็ญต่างก็รู้สึกสบายใจด้วย เช้าวันที่ 31 พวกเราเตรียมจะทำข้าวปั้น เพื่อส่งไปให้หมู่บ้าน ที่เพื่อนบำเพ็ญกลุ่มที่ 2 เคยไป ขณะที่กำลังคิดว่า จะหุงข้าวอย่างไร บังเอิญองค์กรอื่นให้เพื่อนบำเพ็ญยืมหม้อหุงข้าวไฟฟ้าใบใหญ่ ทำให้พวกเราได้เข้าใจถึง ความต้องการของผู้บำเพ็ญ จะเป็นความจริงอย่างรวดเร็ว พวกเราทำข้าวปั้น 250 ชิ้น ส่งไปที่โยชิตานิ ข้าวปั้นที่ร้อนๆเหล่านี้ สร้างความอบอุ่นใจให้กับผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก

ก๋วยเตี๋ยวอุด้งทำด้วยใจรักผู้ประสบภัยอร่อยไม่รู้ลืม

เพื่อนบำเพ็ญศูนย์กุมมะ ได้จัดหน่วยงานช่วยเหลือก่อนผู้อื่น เข้าสู้พื้นที่หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวเพียง 10 ชั่วโมง เพื่อนบำเพ็ญที่ไปดูสภาพเกิดเหตุลมพายุที่เมืองโตโยกะ เช้าวันรุ่งขึ้นไปที่เมืองโทคาเกะ เพื่อแจกจ่ายสิ่งของ ในขณะที่เพื่อนบำเพ็ญหน่วยเสริมกำลังได้ประจำอยู่ที่ศูนย์เตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกันก็รวบรวมข่าวสาร วิเคราะห์เหตุการณ์ และติดต่อกับเพื่อนบำเพ็ญในพื้นที่เกิดเหตุตลอดเวลา พร้อมให้ข้อมูลใหม่สุด หลังจากปรึกษากับศูนย์โตเกียว แล้ว กำหนดร่วมกันแจกนมผง ผ้าอ้อมกระดาษ กระดาษชำระต่างๆ ให้กับผู้ประสบภัย นอกจากนี้ ได้คำนึงถึงผู้ประสบภัยที่ไม่มีน้ำ ไฟ แก๊ส ใช้ มีชีวิตที่ต้องอาศัยอาหารแห้งเลี้ยงท้อง เพื่อนบำเพ็ญจึงกำหนดจะทำอาหารที่ร้อนๆ พร้อมเครื่องปรุงมากมายเช่น ก๋วยเตี๋ยวอุด้ง

เพื่อเป็นการมอบความรักความห่วงใยที่ให้กับผู้ประสบภัยที่มีความต้องการอย่างแท้จริง ระหว่างทางที่เพื่อนบำเพ็ญไปยังสถานที่ใกล้ที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่สุด ซึ่งหน่วยงานช่วยเหลือของรัฐยังไปไม่ถึง เนื่องจากถนนส่วนมากขาดไป จึงต้องเดินอ้อมไปทั่ว ถนนบางแห่ง 2 ข้างทางพังหมด ผิวถนนคดเคี้ยว เปลี่ยนสภาพหมด ทุกคนท่องคำพระเงียบๆ พยายามหาทางเล็กทางน้อยที่ขรุขระตามซอกภูเขา ค่อยๆ เดินไป จากการให้พรของท่านอาจารย์ สามารถผ่านถนนไป โดยที่คนในพื้นที่ยังไม่สามารถเดินผ่านไปได้

เพื่อนบำเพ็ญไปที่โรงเรียนชั้นประถม ศูนย์สวัสดิการ สถานที่เลี้ยงเด็ก และสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง เป็นสถานที่ทุรกันดารและอยู่ห่างไกลก่อน เพื่อบริการก๋วยเตี๋ยวอุด้ง แม้จำนวนผู้ประสบภัยจะมีมากกว่าหลายเท่าจากการคำนวณก่อน แต่เพื่อนบำเพ็ญ 7 คนก็สามารถปรุงก๋วยเตี๋ยวอุด้งที่มีสีสัน รสชาติที่อร่อยภายในเวลาอันสั้น เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานกัน สำหรับผู้ประสบภัยที่ได้แต่รับประทานอาหารแห้งกับอาหารจานด่วนแล้ว สามารถรับประทานบะหมี่ร้อนๆ ที่มีเครื่องปรุงมากมายอย่างนี้ ทุกคนต่างดีอกดีใจอย่างยิ่ง! หลายคนรับประทานไป หลั่งน้ำตาที่ซาบซึ้งไปด้วย และยังชมไม่หยุดปาก ไม่เคยรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่มีสีสัน รสชาติที่อร่อยอย่างนี้มาก่อน ชาตินี้คงจะลืมไม่ลง! มีชายชราที่นอนป่วยอยู่ท่านหนึ่ง กล่าวว่า หลังจากแผ่นดินไหว ท้องเพิ่งจะมีความอิ่มขนาดนี้ แม้แต่ร่างกายก็ดีขึ้นด้วย ยังมีชายชราที่ศูนย์กำลังไป นอนป่วยอยู่ ลูกสะใภ้ได้กล่าวอย่างเกรงใจว่า คุณพ่อหลังจากเกิดแผ่นไหวแล้ว ไม่ยอมรับประทานอะไรเลย แต่ท่านบอกว่า ถ้ามีก๋วยเตี๋ยวอุด้งอาจจะรับประทานได้บ้าง ท่านเพิ่งยอมรับประทานข้าวครั้งแรก หลังจากผ่านไปแล้ว 2-3 วัน ไม่ทราบว่า จะขออีกหน่อยได้ไหม?” พวกเราเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า ทำไมท่านอาจารย์จึงพาพวกเรามายังสถานที่เหล่านี้

สำหรับเพื่อนบำเพ็ญ การขนเครื่องครัวกับวัสดุอาหาร น้ำ เต็นท์ อยู่ตามสถานที่เกิดเหตุ มันยุ่งยากและลำบากมาก แต่เมื่อเห็นผู้ประสบภัยรับประทานอาหารแล้ว ต่างดีอกดีใจ ความลำบากเหนื่อยยากก็ไม่เป็นไร เนื่องจากได้เห็นผู้ประสบภัยต้องดำรงชีวิตที่แสนทุกข์ยาก เวลาเพื่อนบำเพ็ญปรุงก๋วยเตี๋ยวอุด้ง ก็ใส่เครื่องปรุงให้มากขึ้น ผู้ที่เพื่อนบำเพ็ญบริการนั้น ไม่ใช่ผู้ที่มาหลบภัยเท่านั้น ยังประกอบไปด้วยคนที่มาทำงานหลังจากเกิดภัยพิบัติแล้ว พวกเขาทำงานให้กับผู้ประสบภัยทั้งวันทั้งคืน ทำงานอย่างขยันขันแข็ง ขณะเดียวกันก็ต้องทนอดทนหิวกับอากาศที่หนาวเย็น เช่น พนักงานบริษัทส่งพลังไฟฟ้า หลังจากรับประทานก๋วยเตี๋ยวอุด้งของเพื่อนบำเพ็ญแล้ว เกิดพลังเต็มตัว สามารถปีนขึ้นเสาไฟฟ้าท่ามกลางสายฝน สำหรับน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ ของเพื่อนบำเพ็ญแล้ว บางคนยกมือไหว้ขอบคุณ บางคนก็ก้มศีรษะคำนับ บางคนขอบคุณไปพลาง น้ำตาไหลพลาง

นอกจากนี้ เพื่อนบำเพ็ญนำของที่มีพระพรกับยารักษาโรค ถุงให้ความอุ่น กระดาษชำระชนิดเปียก ไปเยี่ยมคนชราที่เจ็บป่วยกับเด็กๆ เพื่อแสดงความปลอบใจ พวกเขาได้เล่าถึงความทุกข์ยากหลังจากเกิดเหตุ บางคนเล่าถึงขณะเกิดแผ่นดินไหว ความหนักใจของคนชราก็ได้คลายลงบ้าง

ระหว่างนั้น เกิดสิ่งมหัศจรรย์หลายอย่าง สถานที่เพื่อนบำเพ็ญไป ล้วนไม่มีไฟฟ้า ผู้ประสบภัยมีชีวิตอย่างไม่สบายใจ กลางคืนก็นอนไม่หลับ บางครั้งก็เพิ่งจะหลับไป ก็อาจถูกแรงไหวที่ยังตกค้าง สะเทือนจนตกใจตื่น มีสถานที่หลายแห่ง หลังจากที่ผู้ประสบภัยรับประทานก๋วยเตี๋ยวอุด้งของเพื่อนบำเพ็ญแล้ว กระแสไฟฟ้าก็มาทันที หลอดไฟก็สว่างขึ้น เป็นแสงสว่างที่ท่านอาจารย์นำมาให้กับทุกคน! คนในที่นั้นต่างปรบมือและร้องไชโย! ผู้ประสบภัยหลังจากเกิดแผ่นดินไหวแล้ว ได้นอนหลับอย่างสนิท

บทสรุป

จากประสบการณ์ที่ไปแจกสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ พวกเราเรียนรู้ว่า การทำงานให้กับอาจารย์ แม้จำนวนคนจะไม่มาก ขอเพียงทำตามการชี้แนะจากอาจารย์ ภายใน สิ่งที่ทำไม่ได้ ก็จะกลายเป็นทำได้ ความรักที่ไม่จำกัดของท่านอาจารย์ เหมือนกับเกราะคุ้มครองพวกเราตลอดทาง ทำให้พวกเราสามารถไปปลอบกาย ใจของผู้ประสบภัยได้อย่างราบรื่น ท่านอาจารย์ ขอขอบพระคุณท่านมาก!

รายการค่าใช้จ่ายจากการไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น
(อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินเยนญี่ปุ่น)

Event Items Amount Appendix
ลมใต้ฝุ่น น้ำ ค่าขนส่ง 486,322 เยน (US$4,694.54) เอ1~5
แผ่นดินไหว *อาหาร: น้ำ นมผง ผลไม้ ผัก เครื่องกระป๋อง โปรตีนถั่วเหลือ ก๋วยเตี๋ยวอูด้ง เครื่องปรุงรส

*เครื่องครัว

*ของใช้ประจำวัน: dผ้าอ้อมเด็ก สิ่งของทำความสะอาด ภาชนะกระดาษ รองเท้าแตะ กระบอกไฟฉาย ถุงให้ความอุ่น เตาอุ่นครั้งเดียว ผ้าปูนอน ยารักษาโรค

 *ค่าขนส่ง ค่าน้ำมัน

1,433,872 เยน (US$13,789.44) บี1~24
รวมทั้งหมด   1,920,194 เยน (US$18,483.98)  


 

จดหมายแสดงความขอบคุณ

(ต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น)

เรียน ท่านที่เคารพ

ตลอดระยะเวลาที่เกิดภัยแผ่นดินไหว พวกท่านนำความรัก ความเมตตามาให้ พร้อมทั้งตระเตรียมก๋วยเตี๋ยวอุด้งให้กับพวกเราแต่เช้าตรู่ ขอขอบคุณทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย! ปัจจุบัน แม้แรงสั่นไหวยังไม่หมดไป น้ำประปาก็ยังไม่เข้าสู่ปกติ ชาวคามิทสึโบโนะ ยังต้องอดทนต่อชีวิตที่ทุกข์ไปอีกระยะหนึ่ง แต่จากการช่วยเหลือของทางรัฐบาล ชาวคามิทสึโบโนะ จะร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไป

ต้องขออภัยด้วย ขอได้โปรดรับความขอบคุณที่ส่งมาช้าจากพวกเรา สำหรับความรักความเอาใจใส่จากพวกท่าน ขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ด้วยความนับถือ

จากสมาคมคามิทสึโบโนะ อำเภอโอจิยะ เมืองนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น



ความรักในรูปการกระทำ
ญี่ปุ่น | ปานามา | ฟอร์โมซา

สารบัญ