รายงานสื่อมวลชน

หนังสือพิมพ์รายวัน ฝันจากกวางโจว ฉบับลงวันที่ 30 /3/2548

ทำลายสิ่งแวดล้อม กรรมตามสนอง

คุณเฉาหมินต้า อาจารย์วิชาอิเล็กตรอน โรงเรียนเทคโนโลยี เคยเข้าร่วมเดินทางไปช่วยแจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สีนามิ ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลังจากเกิดเหตุแล้ว ผู้คนส่วนมากสนใจแต่เรื่องเงินบริจาคเท่าไร
***
แต่ว่า ภัยพิบัติเป็นเรื่องที่ต้องประชุมกันทั่วโลก ไม่ใช่เรื่องของประเทศอื่น
***
ดังนั้น คุณเฉาจึงกล่าวว่า “ต้องสอนตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน”

 


อาจารย์เฉาหมินต้า กับเจ้าหน้าที่กู้ภัยอื่น ๆ ในสถานที่เกิดเหตุคลื่นยักษ์

(ต้นฉบับเป็นภาษาเกาหลี)

เดือนธันวาคม ปี 2547 เป็นประวัติศาสตร์ที่คลื่นยักษ์ได้ถล่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างหนัก ทำให้ผู้คนเสียชีวิตและสูญหายเป็นจำนวนหลายแสนคน ขณะที่สถานที่เกิดเหตุยังไม่ได้กลับสู่ปรกติ วันที่ 28 มีนาคม 2548 เกิดแผ่นดินไหวแรงขนาด 8.7 ริคเกอร์ทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะสุมาตรานอกชายฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้ประชาชนในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซีย ไทย ต่างหวาดผวา ผู้คนกลัวคลื่นยักษ์จะกลับมาถล่มอีก

หลังจากทราบข่าวแผ่นดินไหวอาจารย์วิชาอิเล็กตรอน คุณเฉาหมินต้า ซึ่งมีอายุ 38 ปีแห่งโรงเรียนเทคโนโลยีกล่าวว่า “ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายครั้งเมื่อเร็วๆ นี้ ไม่ใช่ภัยธรรมชาติธรรมดา เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาตามอำเภอใจ โดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ เกิดเป็นกรรมมาตามสนอง” “ผมเสียใจ ! ที่ไม่สามารถไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที ! ทำให้ผม นึกถึงสถานที่เกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิอยู่ในสภาพที่ขาดความช่วยเหลือ”

จากกลางเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อาจารย์เฉาหมินต้าเคยไปสถานที่เกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ ยังเมืองโมตารา ประเทศศรีลังกา เพื่อร่วมทำงานแจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยนานประมาณ 1 เดือน พูดถึงสภาพสถานที่เกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิว่า “บ้านเรือนหายไปหมด ผมเห็นผู้ประสบภัยนั่งใจลอยอยู่บนพื้นที่บ้านตัวเองสิ่งปรักหักพังกองอยู่เป็นภูเขา พวกเขาไม่ทราบว่าจะจัดการอย่างไร?”

อาจารย์เฉาเข้าเป็นสมาชิกสมาคมนานาชาติอนุตราจารย์ชิงไห่เป็นเวลา 10 ปี สมาชิกของสมาคมนานาชาตินอกจากทำหน้าที่ช่วยเหลือภัยกับงานการกุศลจากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้นั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้งทางจิตวิญญาณ โดยไม่ได้มุ่งสะสมทรัพย์สินเงินทอง ดังนั้น เมื่อภัยคลื่นยักษ์สีนามิที่เกิดขึ้นปีที่แล้ว อาจารย์เฉาจึงได้เข้าร่วมกับสมาชิกสมาคมนานาขาติชาวเกาหลี จำนวน 31 คนจัดตั้งคณะกู้ภัยขึ้น เดินทางไปช่วยเหลือที่เมืองมอตารา ประเทศศรีลังกา เนื่องจากตัวเองเป็นหัวหน้าคณะ อาจารย์เฉานอกจากแจกสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวันให้กับผู้ประสบภัยแล้ว ยังได้นำคณะกู้ภัยไปช่วยเหลืองานกู้ภัยด้วย
 

พูดถึงงานกู้ภัยแล้วอาจารย์เฉากล่าวว่า “ผมคิดว่าสิ่งสำคัญต้องช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียญาติ เพื่อให้หายจากอาการหวาดกลัว ผมหมายถึงว่า ต้องช่วยให้จิตใจที่ได้รับความกระทบกระเทือนให้กลับคืนสู่ปกติ ดังนั้น พวกเราจึงได้จัดงานบันเทิงให้กับเด็กในพื้นที่ขึ้นเป็นพิเศษ นอกจากนี้พวกเราก็ได้เช่าเครื่องจักรที่ยกของหนักในพื้นที่ช่วยทำการเก็บขยะกองโตทั้งวันทั้งคืน”

“ผลปรากฏเด็กๆ ยิ้มได้หมู่บ้านเริ่มกลับสู่สภาพปกติ ใบหน้าของชาวบ้านก็มีชีวิตชีวาขึ้นชาวบ้านในพื้นที่เป็นคนบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ดังนั้น ไม่นานก็กลับสู่สภาพเอางานเอาการ “หลังจากที่อาจารย์กลับถึงเกาหลีแล้ว ได้ไปเยี่ยมแรงงานชาวศรีลังกา ที่เมืองกวางโจว แจ้งข่าวสถานการณ์ที่บ้านเดิมให้ฟัง
อาจารย์เฉากล่าวว่า “เมื่อพวกเราอ่านข่าวภัยพิบัตินักข่าวมักเสนอแต่ข่าวว่า ได้รับเงินบริจาคจำนวนเท่าไร หลังจากนั้น ผู้คนก็จะลืมเรื่องต่างๆ ไป แต่ว่าพวกเราเดินทางไปที่ศรีลังกา หลังจากเกิดภัยคลื่นยักษ์สึนามิเป็นเวลา 3 อาทิตย์แล้ว เห็นสถานที่เกิดเหตุยังเป็นสภาพที่น่าอนาถเหมือนเดิม ไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย” เขาเน้นว่า “พวกเราควรจะมองภัยพิบัติเป็นปัญหาทั่วโลก โดยไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องของประเทศอื่น”

มื่ออาจารย์เฉา อยู่ที่โรงเรียน จะคุยเรื่องจุดมุ่งหมายในการใช้เทคโนโลยี ท่านให้ความสนใจกับการพัฒนารถที่ใช้เชื้อเพลิงที่ไม่มีมลพิษ ปัจจุบันกำลังวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) เมืองหันหยัง ทางทิศใต้ของรัฐชิ่งซ่าน อาจารย์เฉา กล่าวในที่สุดว่า “นานมาแล้ว ที่โรงเรียนไม่ได้จัดการสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศน์วิทยา ความจริง พวกเราควรจะสอนเด็กในชีวิตประจำวัน ให้สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศน์” ถ้าพวกเราทำลายธรรมชาติตามอำเภอใจ ผลสุดท้ายมนุษย์เองต้องมารับกรรมที่ตัวเองก่อไว้” อาจารย์เฉา เน้นในที่สุดว่า จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ พวกเราต้องให้ความสนใจกับปัญหาที่แท้จริง ที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ (รายงานโดยนักข่าวเฉาซ่าน)

 

รายงานสื่อมวลชน
เพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ช่วยชีวิตเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้งในเคนยา